“การเถียง” แน่นอนครับ มันไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่นอน ยิ่งคู่กรณีมีอายุมากกว่าหรือที่เรียกว่า “ผู้ใหญ่” แล้ว ในสังคมไทยนั้นดูจะเป็นเรื่องร้ายแรงมากเลยทีเดียว แต่วัยรุ่นไทยก็ยังมักจะเถียงผู้ปกครอง และมักเกิดการตอบโต้กันอย่างรุนแรง ยิ่งคนที่คววบคุมอารมณ์ไม่ได้อย่างผม ยิ่งบานปลายไปกันใหญ่ วันนี้จะมาเปิดใจกันเลยดีกว่า ว่าทำไมเวลามีปัญหาอะไร ผมเลือก(ความจริงก็ไม่ได้เลือกหรอก เพราะตอนนั้นขาดสติทุกที) ที่จะตอบโต้ไปครับ
ถ้านึกถึงวัยรุ่นที่ถูกกล่าวหาว่า “ก้าวร้าว” นั้น นอกจากตัวผมเองแล้ว ผมยังนึกถึงตัวจะครนึงใน Hormones 3 The Final Season ซึ่งก็คือเจน มหัทธโนฤกษ์ นั่นเอง ถือเป็นตัวละครนึงที่น่าศึกษาทีเดียว เพราะมักจะมีเรื่องขัดแย้งกับคนอื่นตลอด แต่ถ้าศึกษาลึกจริงๆ เธอก็มีเหตุผลเหมือนกันที่ทำแบบนั้น ซึ่งต้องเข้าใจก่อนตามเนื้อเรื่อง เจนไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งสภาพสังคมที่นั่น มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมาก ดังนั้นการกระทำแบบนี้จะไม่ถูกคนในสังคมนั้นมองว่าเลวร้ายมากเหมือนสังคมไทย
เจน Hormones | ภาพจาก mthai.com
พอดูละครเสร็จ ย้อนมาดูตัวเองบ้าง ผมก็พบว่าลักษณะนิสัยผมนั้นมีหลายอย่างที่คล้ายกับเธอ ผมมักจะมีปากเสียงทะเลาะกับพ่อแม่ตลอด ด้วยความคิดที่ไม่ตรงกัน ผมไม่ได้จะบอกว่าที่ผมทำน่ะถุกนะ แต่จะบอกว่าบางทีมันมีความจำเป็นต้องทำแบบนั้น
การ “เถียง” ในความคิดของผู้ใหญ่่ หมายถึง การโต้ตอบด้วยความคิดที่ไม่ถูกใจท่านด้วยอารมณ์รุนแรง ซึ่งที่ผมชอบเถียงนั่นก็เพราะบางทีเราถูกผู้ใหญ่เอาเปรียบ แล้วด้วยความขาดสติของผม ผมคิดวิธีแก้ปัญหาแบบอื่นไม่ได้เลย เพราะเขาเป็นต่อผมทุกอย่าง ทีนี้ แม่ก็ชอบสอนว่า เวลามีปัญหา ให้นิ่ง เงียบ ซึ่งนั่นเป็นส่ิ่งที่ถูกต้องนะ แต่บางที การอยู่เฉยๆ มันแลกกับการต้องเสียผลประโยชน์ไง ถึงแม้ถ้าสู้ไปก็ไม่ได้อะไรคืนก็ตาม (เพราะผู้ใหญ่ส่วนนึงติดกับระบบเผด็จการอ่ะนะ)
บางคนบอกว่าเด็กต้องการเอาชนะผู้ใหญ่ ก้าวร้าว สารเลว แต่แนวคิดของผมคือ ถ้าเด็กชนะ ผู้ใหญ่่แทบไม่เสียอะไรเลย (ยกเว้นถ้าไดโนเสาร์หน่อยอาจมีดิ้นตาย แต่ก็ไม่เคยเห็นข่าวนะ) แต่ถ้าผู้ใหญ่ชนะ เด็กเสียเต็มๆ ผมเลยคิดว่า ผู้ใหญ่ควรยอมบ้างในเรื่องที่มันไม่เสียหายมากมายอะไรนัก เพื่อให้เห็นภาพ ผมขอยกประสบการณ์ผมมาละกัน
ตอน ม.3 ครับ วันที่ 9 สิงหาคม 2555 (แหม่ จำวันแม่นด้วย) เคยทะเลาะกับเพื่อนแล้วครูจับเข้าห้องปกครองครับ แล้วครูเขายืนกรานอย่างเดียวว่าต้องเรียกแม่มารับกลับบ้าน ซึ่งวันนั้นผมมีสอบย่อยวิชาสำคัญด้วย ผมก็พยายามบอกครู แต่ยิ่งบอกกลายเป็นเถียงซะงั้น ไม่ได้! ยังไงก้ต้องเรียกผู้ปกครอง ตอนนั้นผมไม่มีหนทางแก้ เพราะถ้าแม่มานี่เรื่องใหญ่แน่ๆ ผมเลยต่อสู้กับครูปกครองเลย! ซึ่งบอกก่อนนะครับว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง น้องๆอย่าลอกเลียนแบบ ตอนนั้นในความคิดของผมคือ
ถ้าอยู่เฉย ก็ต้องก้มหน้ารับกรรม ถ้าตอบโต้ ก็โดนอยู่ดี เอาไงดีวะ เหตุผลใช้กับเผด็จการไม่ได้ด้วยสิ ก็ตอบโต้ละกัน ทีนี้เป็นไงล่ะ หนักกว่าเก่า
ด้วยความคิดที่ว่า จะเด็กจะผู้ใหญ่ก็เป็นมนุษย์เหมือนกันป่ะ เรื่องเคารพไม่เคารพนี่ส่วนนึง แต่นี่คือผู้ใหญ่แม่งมาริดรอบสิทธิเด็กเลย แล้วเด็กต้องอยู่เฉยก้มหน้ารับกรรมเหรอ มันไม่ใช่อ่ะ ผมก็เลยต้องเถียง แต่เพิ่งมารู้นะว่าด้วยสภาพสังคมไทยอ่ะนะ เด็ก = ผิด ผู้ใหญ่ = ถูก มันล็อกมาแล้ว เถียงให้ตายก็ไม่ชนะ แต่ด้วยความใจร้อนของผม ผมเลือกที่จะสู้ แล้วก็เจ็บตัวทุกครั้งเท่านั้นเอง
สรุป ผมได้เรียนรู้สัจธรรม ว่ายิ่งเถียง ยิ่งเข้าทางผู้ใหญ่ที่จ้องเอาเปรียบเด็ก ในเมื่อนิ่งก็เสีย สู้ก็เสีย ควรนิ่งไว้ เพราะถึงเสีย แต่ก้ไม่เจ็บตัวเหมือนสู้ ซึ่งบริบทสังคมนี้ สู้ยังไงก็แพ้
แต่อย่างไรก็ตาม ต่อให้รู้แบบนี้ เวลามีปัญหาอะไร ผมก็ยังใจร้อน สู้มันทุกปัญหา แล้วก็เจ็บตัวทุกปัญหาอยู่ดี
#ใครก็ได้ช่วยผมที #ชุบทีมีใบ